เป็นไปได้ไหมที่เราจะมีอาชีพในฝัน ที่ทำให้เราอยากตื่นไปทำงานทุกวัน?
.
“รับราชการ ทำงานประจำดีกว่า มั่นคงดี”
.
“ทำธุรกิจส่วนตัวสิ งานประจำมันไม่ก้าวหน้านะ”
.
คำพูดเหล่านี้เป็นคำพูดที่เรามักจะได้ยินจากคนรอบตัว เมื่อเราแชร์ปัญหาเรื่องงานให้เขาฟัง เชื่อว่า ทุกคนที่ทำงานต้องมีปัญหาอยู่แล้ว แต่หลายๆครั้ง เวลาเราพูดถึงงานของตัวเอง ก็มักจะได้รับคำแนะนำที่ทำให้เรากลับไปคิดหนัก ว่า เอ๊ะ ทางที่กำลังทำอยู่นี้มันใช่ทางของฉันไหม
.
เวลาเราพูดถึงเรื่องงาน เช่น บอกว่าฉันเป็นอาชีพหมอ พยาบาล ครู พนักงานออฟฟิศ สิ่งเหล่านี้เรียกว่า “What” นั่นคือ ผลลัพธ์สุดท้ายที่จับต้องได้ของงาน เป็นอาชีพแบบเป็นชิ้นเป็นอันที่คนถามว่าทำอะไรแล้วเข้าใจได้ทันที
.
แต่ในองค์ประกอบของการทำงาน มันยังมีสิ่งที่เรียกว่า How และ Why ด้วย พริมอยากใบ้เอาไว้ว่า ทางแก้ปัญหาเรื่องการหมดไฟในการทำงาน ไม่ได้อยู่ที่ What แต่อยู่ที่ Why ค่ะ เดี๋ยวพริมจะมาอธิบายให้ฟัง
.
ขอยกตัวอย่างจากประสบการณ์ของตัวเอง แต่ก่อน พริมเกลียดการสอนภาษาอังกฤษมาก เพราะการสอนภาษาอังกฤษต้องใช้ความเป๊ะ มีลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน แต่ตัวพริมเองเป็นคนง่ายๆ สบายๆ ชอบความยืดหยุ่น
.
อาชีพครูสอนภาษาอังกฤษคือ What
.
ในช่วงเวลาเดียวกัน พริมเริ่มสร้างงานใหม่ให้ตัวเองอีกอาชีพ คือ ที่ปรึกษาด้านการสร้างแบรนด์ (Brand Consultant) ซึ่งเป็นอาชีพที่ถนัด ถูกทางของพริมมากกว่า อาชีพนี้ก็คือ What เช่นกัน
.
แต่สาเหตุที่อาชีพด้าน Branding นี้ทำแล้วรู้สึกเป็นธรรมชาติกว่า เพราะเบื้องหลังของมันคือ Why ที่สอดคล้องกับความเชื่อที่แท้จริงของพริม
.
พริมเชื่อว่า คนเราจะเป็นตัวเองได้ดีที่สุด เมื่อสิ่งที่ทำสอดคล้องซื่อตรง (Align) กับความเป็นตัวเอง
.
พูดง่ายๆ คือ เราเป็น Best Version เมื่อเราเป็นตัวเอง
.
ดังนั้น How หรือ วิธีการส่งมอบ Why ของอาชีพ Brand Consultant ก็คือ ช่วยให้คนเข้าใจความเป็นตัวเอง และ สื่อสารความเป็นตัวเองออกไปให้โลกรู้
.
และ What ที่มาหลังสุด ก็คืออาชีพ Brand Consultant
.
ทีนี้กลับมาที่อาชีพสอนภาษาอังกฤษ พริมจะประยุกต์ใช้หลักการนี้กับตัวเองยังไง
.
“เราจะใช้ Why ของเราทำให้อาชีพครูสอนภาษาอังกฤษมีความหมายขึ้นได้มั้ย?”
.
ถ้าพริมอยากให้คนเป็นตัวเอง พริมก็ต้องถามก่อนว่า เขาเรียนได้ดีที่สุดผ่านการทำอะไร สื่อแบบไหนที่เขาชอบ
.
และก็ได้คำตอบมาว่านักเรียน “ชอบร้องเพลง”
.
เอาล่ะสิ! เข้าเป้าเลย ทีนี้เราก็ได้ค้นพบ “ความเป็นตัวเอง” ของนักเรียนแล้ว
.
จากนั้นมา คลาสภาษาอังกฤษ 2 ชั่วโมงที่ยาวมากก็ดูสั้นลงทันตา
.
เพราะเราร้องเพลงภาษาอังกฤษ เราเรียนศัพท์และแกรมม่าจากเนื้อเพลง
.
ความสุขของนักเรียนที่ได้เป็นตัวเองมันเฉิดฉายออกมา จนพริมได้รับพลังนั้นด้วย
.
นี่คือตัวอย่างของการประยุกต์ใช้ “Why” เพื่อทำให้ How และ What สอดคล้องกับคุณค่าภายใน และสิ่งที่เราให้คุณค่าค่ะ
.
.
กลับมาที่เรื่องการเลือกอาชีพ
.
พริมจะบอกว่า คุณจะทำอาชีพไหนก็ได้
.
ตราบเท่าที่คุณทำมันด้วย Why ที่ชัดเจน
.
สมมติว่าคุณให้คุณค่ากับปฎิสัมพันธ์กับคน แล้วคุณได้งานนักบัญชี ที่เกี่ยวข้องกับตัวเลข ต้องนั่งหน้าคอมพ์ทั้งวัน
.
คุณก็สามารถทำงานนั้นไป โดยนึกถึงหน้าคนที่ได้รับบริการของคุณ ได้รับการแก้ปัญหาด้วยทักษะของคุณ
.
และถ้ามีโอกาส คุณสามารถค่อยๆ ขยับขยาย ไปยังงานที่ทำให้คุณ “ส่งมอบคุณค่า” หรือ “Deliver Your Why” ได้อย่างตรงจุดมากขึ้น เช่น อาจจะขอหัวหน้าออกไปพบกับลูกค้า หรือประสานงานบางอย่าง
.
หรือแม้กระทั่งสร้างอาชีพใหม่ขึ้นมาแบบพริม ก็ยังเป็นไปได้
.
สิ่งหนึ่งที่คุณจะได้จากการหา Why ของตัวเองเจอ
.
ก็คือคุณจะได้ทำงานอย่าง “เป็นตัวเอง” ตั้งแต่วันนี้เลย
.
และวันจันทร์ก็จะไม่ใช่วันที่น่ากลัวอีกต่อไป
.
เพราะมันหมายถึงอีกวัน ที่คุณจะได้ส่งมอบคุณค่าของตัวเอง ใน Version ที่ดีที่สุด
.
โดยเริ่มจากสิ่งที่ดีที่สุดในตัวคุณเอง