ช่วงนี้พริมเห็นหลายคนเริ่มทำบริษัทตัวคนเดียว คือ มีพนักงานคนเดียวคือตัวเอง แล้วงานอื่นๆ แจกให้ฟรีแลนซ์ทำ (หรือแม้แต่พึ่งพาความช่วยเหลือจากเทคโนโลยี Gen AI) ซึ่งเป็นเทรนด์ที่เริ่มชัดเจนขึ้นตั้งแต่ช่วง COVID ในวันนี้ พริมเอง ซึ่งทำบริษัทตัวคนเดียวเหมือนกัน เลยมีคำถามดีๆ มาแจกให้ผู้ประกอบการสายนี้ลองคิด เพื่อให้ธุรกิจเติบโตได้ แม้ไม่ต้องขยายอะไรเลย
- คำถามแรกก็คือ "มีธุรกิจไหนไหมที่คุณสามารถทำได้โดยไม่ต้องลงทุน หรือลงทุนน้อยมากหรือไม่?"
หลายครั้งบริษัทตัวคนเดียวก็เริ่มจากไอเดียธุรกิจที่ยังไม่ต้องใช้ทรัพยากรมาก หรือใช้ทรัพยากรที่เรามีอยู่แล้ว ซึ่งอันนี้จะพาเราไปยังข้อ 2
2."มีงานไหนที่เราชอบ หรือถนัดอยู่แล้ว และสามารถลองก้าวเล็กๆ ไปลงมือทำเองได้หรือไม่?"
หลายครั้งบริษัทตัวคนเดียว ก็เริ่มจากพนักงานบริษัทสักคนหนึ่ง ซึ่งเชี่ยวชาญอะไรบางอย่างจากการทำงานในองค์กรมานานพอ คุณพอล จาร์วิส คนเขียนหนังสือ Company of One เป็นต้นแบบอีกคนในด้านนี้ เพราะเขาเคยทำงานด้านการออกแบบมาก่อน และตั้งบริษัทตัวคนเดียวที่เน้นด้านการออกแบบ หลังลาออกจากการเป็นพนักงานบริษัทการที่เขามีความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว ทำให้การเริ่มต้นบริษัทง่ายขึ้น และเขายังมี Connection กับคนในแวดวงของงานเก่ามาช่วยหนุนเสริม
3."ทำยังไงจะทำให้งานที่ทำอยู่แล้วดีขึ้น โดยไม่ต้องขยายขนาดบริษัทหรือไม่?
ปรัชญาของบริษัทตัวคนเดียว คือ Keep the expansion at minimum เพราะการขยายขนาดบริษัท นำมาซึ่งการลงทุนที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น เราต้องใช้ ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อทำให้งานดีขึ้น แทนที่จะเอาเงินลงไปทุ่มกับการขยายงาน การจ้างบุคลากร หรือการซื้ออะไรบางอย่างมาเพิ่มสำหรับการทำงาน
4."คุณจะทำยังไงให้ตัวเองมี Work-Life Balance?"
สาเหตุที่คำถามเรื่องความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและการทำงานเป็นคำถามสำคัญ เพราะ ในบริษัทตัวคนเดียว ตัวคุณเป็นคนจัดการทุกอย่างทั้งหมด งานที่เล็กน้อยมากๆ เช่น การถ่ายเอกสาร หรือการส่งอีเมล อาจทำให้คุณหมดแรงเอาได้ถ้าไม่จัดการให้ดี คุณต้องพร้อมสำหรับจัดการงานจำนวนมาก เพราะคุณไม่มีพนักงาน และทำให้ทุกอย่างสอดคล้องกับจังหวะในการพักผ่อนเอาแรงด้วย
5."อะไรคือ "Why" ของคุณ?"
Why คือจุดมุ่งหมาย หรือ เป้าหมายที่แท้จริงของบริษัท ที่จะนำไปสร้างคุณค่า (Value) ได้ เป้าประสงค์ของบริษัทที่แท้จริงคืออะไร? ทำไมต้องมีบริษัทนี้เกิดขึ้นในโลก? ถ้าคุณตอบคำถามนี้ได้ คุณจะได้เข้าถึงหัวใจสำคัญของงาน และในภาพกว้าง การทำงานทุกอย่างจะมีความหมาย ทำให้คุณลุยได้ยาวๆ ในสังเวียนธุรกิจโดยไม่หมดไฟยกตัวอย่าง Why ของ Apple คือการ "ท้าทายขีดจำกัดเดิมๆ" สิ่งที่เขาผลิตจึงไม่ได้หยุดที่คอมพิวเตอร์ หรือ มือถือ (เหล่านี้คือ What เป็นผลลัพธ์ปลายทาง) แต่เป็นเทคโนโลยีที่ท้าทายขีดจำกัดของมนุษย์
สำหรับใครอ่านบทความนี้จบ พริมมี Session มาแจกค่ะ คือ Business Alignment Session: เหมาะกับเจ้าของธุรกิจที่เริ่มหมดไฟ และอยากหาแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการทำให้ธุรกิจค้นพบคุณค่า จาก Why ของตัวเอง** พริมรับแค่ 5 ราย เป็นการพูดคุยออนไลน์ 1 ชั่วโมง "ฟรี" ใครสนใจทักไลน์ (LINE) มาหาพริมได้ ทางไอดี @primmalikul เลยค่ะ
แล้วมาทำงานแบบเป็นตัวจริงไปพร้อมๆ กันนะคะ