“นี่มันเรื่องของกูเลยนี่หว่า”
.
หนังสือ The Science of Storytelling (มีแปลไทยในชื่อ ศาสตร์และศิลป์แห่งการเล่าเรื่องให้ตรึงใจด้วยวิทยาศาสตร์สมอง) อาจเป็นหนังสือที่ “คนอยากเล่าเรื่อง” เลือกหยิบจากชั้น แต่เมื่ออ่านไปเรื่อยๆ พริมพบว่า มันไม่ได้ตอบโจทย์เฉพาะคนที่ต้องการจะเล่าเรื่องเท่านั้น
.
แก่นเรื่องของหนังสือ คือ การสร้างตัวละคร — ตัวละครเอกในทุกเรื่องเล่ามีความเชื่อบางอย่าง ที่เขาใช้สร้างชีวิต และเป็นศูนย์กลางของตัวตน
.
และเมื่อเวลายิ่งผ่านไป ความเชื่อนั้นจะถูกทดสอบ กระชาก สั่นสะเทือน
.
สุดท้าย ตัวละครจะเจอวิกฤติศรัทธา และคนที่เปลี่ยนแปลงตัวเองได้ ก็คือ ฮีโร่
.
พออ่านจบ ยอมรับว่า เกิดการตั้งคำถามกับตัวเองมากพอควร ว่า “ฉันกำลังมีความเชื่อไหนที่ฝังใจ และใช้สร้างทุกสิ่งทุกอย่าง จนไม่อ่อนข้อให้ใครบ้างไหม?” ยิ่งในสภาวะสังคมที่มีความขัดแย้ง คำถามนี้ดูจะทวีความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ
.
จะดีกว่าไหม หากเราสามารถมองในมุมของคนที่อยู่ฝั่งตรงข้าม และผสานความขัดแย้งได้
.
นี่คือชุดคำถาม 10 คำถาม เพื่อ “ตรวจสอบความเชื่อตนเอง” ที่พริมได้จากการอ่านหนังสือเกี่ยวกับเรื่องเล่าเล่มนี้ค่ะ เช่นเคย คือ พริมตั้งคำถามเหล่านี้เองจากการอ่านหนังสือ และตั้งใจให้ทุกคนได้ Workshop กับหนังสือเล่มนี้ หรือรู้ภาพรวมของมันค่ะ
.
แนะนำให้ตอบคำถามตามลำดับ เพราะคำถามจะค่อยๆ Guide ไปสู่คำตอบที่สำคัญขึ้นเรื่อยๆ จุดประสงค์ของการตอบคำถามเหล่านี้ คือ เพื่อทำให้เรากลายเป็นคนที่ “ยืดหยุ่นขึ้น” และ “เปิดรับความเชื่อที่ต่างจากตัวเองได้มากขึ้น” ค่ะ
.
1- ถ้าให้คุณอธิบายว่าตัวเองเป็นใคร คุณจะอธิบายว่าอะไร
.
2- ถ้าให้คุณอธิบายว่าตัวเองเป็นคนยังไง คุณจะอธิบายว่าอย่างไร
.
3-ในชีวิตนี้ คุณเชื่อในอะไร / อะไรที่เป็นสิ่งจริงแท้สำหรับคุณ อาจถึงขั้นเป็นสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์
.
4-ความเชื่อนั้นทำให้ชีวิตคุณดีขึ้นอย่างไร
.
5-ถ้าคุณไม่ทำตามความเชื่อนั้น จะเกิดเหตุร้ายอะไรขึ้น
.
6-มีเหตุการณ์อะไรในชีวิตที่ทดสอบว่าความเชื่อของคุณเป็นจริง
.
7-ความเชื่อไหนที่ตรงข้าม/อาจถึงขั้นเป็นปฏิปักษ์ต่อความเชื่อของคุณ
.
8-ความเชื่อที่ตรงข้ามกับคุณนั้นมีข้อดี/จุดแข็งอย่างไร
.
9-ความเชื่อของคุณมีจุดอ่อนอย่างไร
.
10-ความเชื่อของคุณ และความเชื่อที่ตรงข้ามกับคุณ มีจุดไหนที่ร่วมกันไหม และคุณเรียนรู้อะไรได้บ้างจากความเชื่อที่อยู่ตรงข้าม
.
หวังว่าทุกคนที่ได้ตอบคำถามนี้ จะได้เรียนรู้บางอย่างเกี่ยวกับตนเองนะคะ
.
(บทความที่เกี่ยวข้อง) อ่านบทความ “10 คำถามเปลี่ยนชีวิต ตกผลึกจากหนังสือ “ชีวิตเรามีแค่ 4,000 สัปดาห์” ได้ที่นี่