ถ้าพริมบอกว่า สิ่งแรกที่คนทำธุรกิจ (รวมทั้งงานอื่นๆ) ต้องทำคือค้นหาตัวเอง
คุณจะเชื่อไหมคะ
พริมยกตัวอย่างแบรนด์หนึ่ง เป็นแบรนด์ที่เริ่มต้นขึ้นด้วย “ความเป็นตัวเอง”
ความเป็นตัวเองของเขาคือ “การท้าทายขีดจำกัดเดิมๆ อย่างไม่ผ่อนปรน”
ทุกอย่างในแบรนด์นี้เป็นเรื่องการท้าทายขีดจำกัดหมด ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทั้งสวยและมีประสิทธิภาพกว่าแบรนด์อื่น แม้แต่สายชาร์จก็ต้องคุณภาพดี จ่ายไฟเสถียร หัวปลั๊กตรงตามรูปแบบมาตรฐานในทุกประเทศ
เรื่องหัวปลั๊กนี่ บางแบรนด์แค่ใช้ของที่ ‘พอใช้ได้’ แต่แบรนด์นี้ไม่ยอม จะต้องให้โรงงานทำบล็อกขึ้นมาใหม่ให้พอดีกับของไทยเลยค่ะ
คีย์บอร์ดต้องสวย ระยะห่างระหว่างปุ่มพอเหมาะ เสียงเบา ออกแรงพิมพ์น้อย
ถึงจุดนี้หลายคนคงเริ่มรู้แล้วว่าพริมพูดถึงแบรนด์อะไร
พริมกำลังพูดถึง Apple ค่ะ
แต่สิ่งที่พริมจะชี้ให้ดู ไม่ใช่ว่าเขาผลิตอะไร หรือผลิตของมีคุณภาพแค่ไหน
แต่คือ “ทำไม” ข้อมูลยิบย่อยพวกนี้ถึงหลุดรอดมาถึงพริม แล้วทำไมพริมประทับใจจนเอาเรื่องของเขามาเขียนตรงนี้? (ใครมันจะไปแคร์เรื่องหัวปลั๊ก!)
สิ่งหนึ่งที่แอปเปิ้ลมีจนกลายเป็นวัฒนธรรมหรือ Culture
ก็คือกลุ่มแฟนเดนตาย
ที่ไม่ว่า Apple จะออกอะไรมาคนเหล่านี้ก็พร้อมจะซื้อ และเก็บทุกรายละเอียดความใส่ใจที่แอปเปิ้ลใส่ไว้ในผลิตภัณฑ์
“ท้าทายขีดจำกัดอย่างไม่ผ่อนปรน” คือความเชื่อของเขา
ความเชื่อนี้มาจาก “ความเป็นตัวเอง” ของสตีฟ จ๊อบส์ ที่เป็น Perfectionist มากๆ
และความเชื่อนี้ทำให้แบรนด์แสดงออกได้ชัดเจนในทุกๆจุดที่เขาสัมผัสกับลูกค้า
ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบร้าน บริการ แพคเกจ โฆษณา เทรนพนักงาน
ทุกอย่างล้วนสะท้อน “ความเป็นตัวเอง” ของผู้ก่อตั้งแบรนด์ทั้งหมด
Simon Sinek นักเขียนเกี่ยวกับการสร้างแบรนด์ชื่อดัง ได้เขียนหนังสือที่เรียกว่า “Start With Why”
สรุปให้สั้นๆ การเริ่มสร้างแบรนด์จากคำถามนี้ จะทำให้แบรนด์คงความเป็นตัวเองไว้ได้ และสร้างผลกระทบที่มีความหมายต่อกลุ่มลูกค้า
คำถามนี้คือ “ทำไม (แบรนด์ของ) ฉันถึงมีตัวตนอยู่”
ฟังแล้วดูเป็นคำถามปรัชญามาก (และก็ใช่คำถามปรัชญาจริงๆ)
และใครก็ตามที่ได้ถามคำถามนี้ ก็อดที่จะถามตัวเองไม่ได้ว่า “ฉันคือใคร (กันแน่วะ)?!”
สำหรับ Apple เขาได้คำตอบว่าเขาเป็น Perfectionist
ดังนั้นเขาจึงท้าทายขีดจำกัดไม่หยุด
และใส่มันไว้ในทุกรายละเอียด
ผลคือ ในโลกนี้มีคอมพิวเตอร์แค่ 2 แบรนด์
คือ แบรนด์ Apple กับ แบรนด์อื่นๆ (ซึ่งอันหลังนี้ เราไม่สามารถแยกความต่างของมันได้เท่าไหร่ เช่น เราจะบอกได้ยังไงว่าแบรนด์ Dxll ต่างจาก Acxr ยังไง?)
กลับมาที่คำถาม “ทำไมแบรนด์ฉันจึงดำรงอยู่?”
กระบวนการหาคำตอบอาจกินระยะเวลานาน
คุณอาจไม่ได้รับคำตอบในทันทีที่เริ่มทำธุรกิจ คุณอาจต้องลองผิดลองถูก ลองหลายๆอย่างที่ไม่ใช่ตัวเอง
แต่สิ่งที่จะทำให้คุณไปถึงคำตอบนั้น ก็คือ การถามต่อไป ต่อไป ต่อไปอีก
ถามจนคุณเกิดวินาทีสว่างวาบว่า “เออ นี่แหละคือตัวตนของฉัน”
ในวันนั้น ธุรกิจจะไม่ใช่แค่งานที่คุณทำเพื่อให้ได้เงิน
แต่มันจะกลายเป็น “ส่วนขยาย” ของชีวิตคุณ
มันจะกลายเป็น “งานที่มีความหมาย”
และมันจะ “สร้างความหมาย” ต่อชีวิตของลูกค้า
เหมือนที่แฟนเดนตายของ Apple ได้เห็นว่า Apple เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต และตัวตนของพวกเขาไปแล้ว
—-----------------------------------
สำหรับใครที่ชอบเรื่องที่พริมเล่า และอยากรู้ว่าพริมทำอะไร
ในอาชีพการงานของพริม ทำอยู่ 2 อย่าง
1. ช่วยให้คนเป็นตัวเอง เจอในสิ่งที่ตรงกับตัวเอง
2. ช่วยให้คนสื่อสารความเป็นตัวเองออกไป จนคนอื่นเข้าใจ
ดังนั้นงานที่พริมทำจึงมี 3 อย่าง
1. Branding Consultant ช่วยคนสร้างธุรกิจจากความเป็นตัวเอง
2. Storytelling Coach ช่วยให้คนนำความเป็นตัวเองมาเล่าเป็นเรื่องราว
3. Self-Help Author นักเขียนหนังสือแนวพัฒนาตัวเอง
—--------------------------------
สำหรับใครที่อยากนัดคุย ปรึกษากับพริม
พริมมีบริการให้คำปรึกษาทำ Align with Your Job (ค้นหาตัวตนด้านอาชีพ)
เป้าหมายคือ ช่วยให้คุณวิเคราะห์ “ความชอบ” และ “ทักษะ” ของตนเอง เพื่อมองหางาน ธุรกิจที่ใช่
หรือถ้ามีงาน หรือทำธุรกิจอยู่แล้ว ก็ช่วยให้เข้าใจจุดแข็งในการทำงาน และตัวตนธุรกิจคุณมากขึ้น สร้างภาพลักษณ์แบรนด์ให้ชัดเจนกว่าเดิม
อยากนัดคุยกับพริม ทักไลน์ OA ด้านล่างได้เลยค่ะ